วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ปฏิวัติตนเองสู่เส้นชัยชีวิต
เด็กๆ คะ ครูอ่านบทความเรื่อง ปฏิวัติตนเองสู่เส้นชัยชีวิต เขียนโดย ศ. ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แล้วนึกถึงเด็กๆ ทุกคน ลองอ่านดู แล้วคิดพิจารณาว่า จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทความนี้ไปพัฒนาตนเองอย่างไรบ้าง
นโปเลียน ฮิลล์ ได้กล่าวถึงคุณสมบัติส่วนตัวของนักเดินตลาดที่ประสบความสำเร็จ ข้อหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง เขากล่าวว่า “นักเดินตลาดชั้นยอดจะควบคุมความคิดและหัวใจของตนทั้งหมดตลอดเวลา เขารู้ว่าถ้าหากเขาไม่สามารถควบคุมตนเอง เขาย่อมควบคุมบุคคลที่มุ่งหวังให้ซื้อสินค้าไม่ได้”
คนที่ปรารถนาความสำเร็จแห่งชีวิตจำเป็นต้องฝึกการบังคับตนเอง เพราะหากเราไม่สามารถบังคับตนเองได้ในเรื่องที่อาจดูเหมือนเล็กน้อย เราก็อาจล้มเหลวในขั้นตอนหนึ่งของชีวิตได้ โดยการฝึกฝนการบังคับตนเองนั้นมีหลักการสำคัญคือ สายตาต้องจับจ้องเป้าหมาย เราควรตั้งเป้าหมายการทำงาน การใช้ชีวิตที่ชัดเจนและเป็นเป้าหมายระยะยาวที่เราปรารถนาจะไปให้ถึง จะทำให้สำเร็จ เป้าหมายที่พึงประสงค์นี้จะเป็นพลังช่วยให้เรามองข้ามอุปสรรค ความผิดพลาดล้มเหลว ความไม่พอใจกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ ดังคำกล่าวของ ชาร์ลส โนเบล ได้กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “คุณจะต้องมีเป้าหมายระยะยาว เพื่อยึดคุณไว้ไม่ให้จมอยู่กับความผิดหวังในความล้มเหลวที่เกิดขึ้นระหว่างทาง”
อย่าให้อารมณ์นำหน้าเหตุผล หากเราต้องการประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องเป็นผู้ที่บรรลุภาวะทางอารมณ์ ต้องไม่อนุญาตให้อารมณ์มีอำนาจอยู่เหนือเหตุผล เมื่อเริ่มมีอารมณ์โกรธจากเหตุการณ์ใดก็ตาม เราควรตั้งสติให้มั่นคง เริ่มคิดว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และควรตอบสนองอย่างไร เพื่อผลสุดท้ายจะเป็นผลดีแก่ทั้งสองฝ่ายมากที่สุด จากนั้นเราค่อยแสดงออกมาจะช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลับกลายเป็นดีได้
เลือกที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมเสมอ ในการตัดสินใจทำสิ่งใด เราจำเป็นต้องเลือกในทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งใจไว้ โดยระมัดระวังมิให้ความต้องการในผลประโยชน์ระยะสั้น อารมณ์ความรู้สึก หรือปัจจัยอื่น ๆ มาเป็นเงื่อนไขให้เราตัดสินใจผิดพลาด และเป็นเหตุให้ต้องกลับมานั่งเสียใจในอนาคต ดังนั้นในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ จึงต้องคิดอย่างรอบคอบและมั่นใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ฝึกวินัยเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย นิสัยเกิดขึ้นจากการที่เราทำสิ่งใดซ้ำ ๆ ในรูปแบบเดิม ๆ จนกลายเป็นความเคยชิน นิสัยเหล่านี้ได้กำหนด “ความเป็นตัวเรา” ในการทำสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่วิธีคิด ค่านิยม วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบพฤติกรรม รวมถึงลักษณะการทำงานของเราด้วย นิสัยที่แตกต่างกันก็ทำให้คนทำงานแตกต่างกันไป เช่น คนที่มีนิสัยรอบคอบ ในการทำงานจะตรวจตราอย่างละเอียด ความผิดพลาดจึงไม่ค่อยเกิดขึ้น คนที่มีนิสัยชอบความสบาย ๆ มักจะไม่ชอบทำงานหนักหรือทำงานล่วงเวลา นิสัยขาดความอดทน มักจะไม่สามารถรับแรงกดดันหรือปัญหาที่เข้ามาได้ นิสัยชอบแก้ตัว เมื่อทำผิดจะไม่ยอมรับผิด นิสัยเห็นแก่ตัว ย่อมสร้างความอึดอัดใจแก่เพื่อนร่วมงานได้ เป็นต้น
… นิสัยที่เอื้อต่อการทำงานที่ประสบความสำเร็จ เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่น ขยัน เอาจริงเอาจัง รักการเรียนรู้ รอบคอบ ซื่อสัตย์ ทำงานเป็นทีม รักความดีเลิศ รักษาสัญญา อดทน ชอบคิดสร้างสรรค์และชอบการแก้ปัญหา เป็นต้น
…ส่วนนิสัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่น เห็นแก่ตัวไม่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เกียจคร้าน เย่อหยิ่ง ชอบแก้ตัว ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่รักษาสัญญา ขาดความกระตือรือร้น รักสบาย ไม่รักการเรียนรู้ เป็นต้น
นิสัยต่าง ๆ เหล่านี้ ส่งผลต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของเราได้ ดังนั้น เราจึงควรสำรวจตัวเราว่ามีนิสัยอะไรบ้างที่เราควรแก้ไข และมีนิสัยใหม่ ๆ อะไรบ้างที่ดี เรายังไม่มี และควรพัฒนาให้เกิดขึ้นกลายเป็นนิสัยของเรา โดยเริ่มจาก
เริ่มต้นที่ความคิด ความคิดเป็นตัวกำหนดความเป็นเรา ทั้งนิสัย ค่านิยมและพฤติกรรมของเรา ดังนั้น หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเริ่มต้นที่ความคิดของเราก่อน ที่สำคัญคือ ต้องมีความคิด “ปฏิเสธ” นิสัยไม่ดีของตัวเอง ยอมรับว่านิสัยของเราบางอย่างนั้นไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและต่อความสำเร็จของชีวิตในอนาคต นอกจากปฏิเสธแล้ว เราต้องมี “ความปรารถนา” ที่จะมีนิสัยดี ๆ ให้กลายเป็นนิสัยใหม่ของเรา
ตามด้วยความตั้งใจ หากเราต้องการพัฒนานิสัยที่ดี ๆ ให้เกิดขึ้น นั่นหมายความว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง แก้ไขนิสัยเดิม ๆ ซึ่งเราคงต้องยอมรับว่า นิสัยนั้นเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติจนเป็นความเคยชิน การสร้างนิสัยใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หากเรามีเพียงความปรารถนา แต่ต้องอาศัยความตั้งใจ ความเอาจริงเอาจัง และร่วมมือกับตัวเอง ด้วยการตั้งเป้าเปลี่ยนแปลงนิสัยเดิมอย่างเอาจริงเอาจัง
สร้างวินัยให้ตัวเอง การวิจัยทางการแพทย์พบว่า คนเราจะสามารถมีนิสัยใหม่ได้ ถ้าทำสิ่งใดซ้ำ ๆ กันต่อเนื่องได้ 45 วัน จะกลายเป็นนิสัยใหม่ได้ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องฝึกนิสัยใหม่ โดยทำเป็นประจำ จนเกิดความเคยชิน เช่น หากเราต้องการเป็นคนที่รักความดีเลิศ เราต้องเปลี่ยนแปลงนิสัยสะเพร่าเลินเล่อของเรา โดยการตรวจงานทุก ๆ ชิ้นอย่างละเอียดเมื่อทำเสร็จ โดยทำเช่นนี้ทุก ๆ วันกับงานทุก ๆ ชิ้น จนกว่าเราจะเกิดความเคยชินในการทำเช่นนี้จนเป็นนิสัย ต่อไปเราจะเป็นคนที่ทำผิดพลาดน้อยลง เป็นต้น
สุดท้ายต้องพยายามอย่างไม่ลดละ เช่นเดียวกับคนที่ต้องการลดความอ้วน ต้องเปลี่ยนนิสัยการรับประทาน ให้รับประทานเป็นเวลา เปลี่ยนจากความชอบในอาหารพวกแป้งและน้ำตาล ด้วยการฝึกรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ ซึ่งแรก ๆ ย่อมมีความยากลำบากอยู่บ้าง และหลายคนอาจล้มเหลวหรือล้มเลิกกลางคัน แต่คนที่ประสบความสำเร็จคือ คนที่อดทน พยายามอย่างไม่ลดละ นิสัยอื่น ๆ ก็เช่นกัน เราต้องอดทน พยายามทำต่อไป ไม่ล้มเลิกแม้ล้มเหลวบ้างระหว่างทาง เพราะนานวันเข้าจะกลายเป็นความเคยชิน กลายเป็นนิสัยใหม่ไปโดยปริยาย
การปฏิวัติตนเองเพื่อไปสู่เส้นชัยนั้นสำคัญสุดคือการมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะไปสู่เป้าหมายนั้นจนยอมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง ซึ่งแม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลังหากต้องอาศัยความตั้งใจจริงและความเพียรพยายาม โดยรางวัลที่ได้รับนั้นไม่ใช่ที่เส้นชัยเท่านั้น แต่ระหว่างทางที่เดินไปผู้ที่สามารถบังคับตนเองได้จะรู้สึกถึงความภาคภูมิใจในความสามารถของตนที่สามารถบังคับตนเองไปสู่เส้นทางที่ใกล้เส้นชัยมากขึ้นทุกวันและสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการเคารพในตนเอง ซึ่งเป็นแหล่งพลังสำคัญที่คอยให้กำลังใจเป็นระยะว่าเส้นชัยนั้นเราไปถึงได้แน่นอน
ที่มา ปฏิวัติตนเองสู่เส้นชัยชีวิต เข้าถึงได้จากhttp://www.oknation.net/blog/kriengsak/2010/02/16/entry-1
อ่านอย่างไรให้จำได้
การอ่านให้จำได้อย่างเข้าใจ หรือ จำอย่างมีความหมาย หรือจำอย่างมีความคิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1. อ่านส่วนนำของเนื้อหา
การอ่านส่วนนำของเนื้อหา จะทำให้นักเรียนมองเห็นภาพรวมของเนื้อหา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา รวมทั้งเป้าหมายของเนื้อหาทีจะเรียน การอ่านทำความเข้าใจและสามารถจำแนวคิดได้ จะช่วยให้จำหัวเรื่องหลัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาทีจะนำไปสูเนื้อหาย่อยของแต่ละหัวข้อ
2. จัดระบบของเนื้อหา
เมื่อถึงส่วนของเนื้อหา ขณะอ่าน พยายามจัดระบบของเนื้อหา เช่น จัดกลุ่ม หรือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหัวข้อและเนื้อหา การเปรียบเทียบเนื้อหา เป็นต้น จะทำให้มองเห็นกลุ่มก้อน ความเชื่อมโยง ความเหมือนหรือความแตกต่างของเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ในทางปฏิบัตินักเรียนควรอ่านเป็นส่วนๆทีละเรื่องโดยอ่าน 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านคร่าวๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาให้ได้ก่อนว่า มีใจความสำคัญอะไร รอบทีสองเป็นการอ่านเพื่อจัดระบบของเนื้อหา
3. เชื่อมโยงความรู้เดิม
ขณะอ่านหากนักเรียนควรเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้หรือประสบการณ์เดิม จะช่วยทำให้จำเนื้อหาความรู้ใหม่ได้ดี เช่น นึกย้อนทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาคิดวิเคราะห์กับสิ่งใหม่ จะช่วยให้เห็นว่าข้อความใหม่คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกับความรู้เดิมอย่างไร
4. จดบันทึก
การจดบันทึก เป็นการถ่ายทอดความคิดให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อนักเรียนได้ทำความเข้าใจในข้อความรู้ หรือ สามารถจัดโครงสร้างหมวดหมูของเนื้อหาแล้ว นักเรียนควรจดบันทึกลงในสมุดจะช่วยให้จำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น นักเรียนสามารถจดบันทึกสาระสำคัญในหน้งสือ ตามความเข้าใจและถ้อยคำภาษาของตนเอง หรืออาจเขียนแผนภูมิโครงสร้างของเนื้อหาตามความเข้าใจของตนเองจะเป็นการช่วยทวนซ้ำและระลึกข้อความรู้ในขณะจดบันทึก ช่วยให้จำได้ดี ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการ "ลอก" เนื้อหาจากหนังสือเพราะจะไม่ช่วยให้จำในขณะอ่านเท่าใดนัก
5. อ่านส่วนสรุป
การอ่านส่วนสรุปจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ได้ทำแบบฝึกปฏิบัติแล้ว การอ่านเฉลย หรือแนวคำตอบยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสรุปเนื้อหาและช่วยจำ
6. ทวนซ้ำขณะอ่าน
การทวนซ้ำ เป็นวิธีธรรมชาติของการจำที่คนเราใช้กันมานาน ที่ยังมีผลต่อการจำ อย่างไรก็ตาม การทวนซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อหาและจำนวนครั้งของการทวนซ้ำ หากปริมาณเนื้อหาไม่มากนัก จำนวนครั้งของการทวนจะน้อย ประกอบกับหากมีการเชื่อมโยงความรู้หรือจัดหมวดหมู่จะช่วยให้การทวนซ้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. ทดสอบตนเอง
การทดสอบตนเองเป็นการฝึกในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เคยจดจำไปแล้ว เป็นการฝึกซ้อมกระบวนการในการดึงเอาข้อความรู้ออกมา เปรียบเสมือนกับการที่นักเรียนเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มในตู้ลิ้นชักที่จัดไว้เป็นระบบ เป็นการเก็บจำ การทดสอบโดยการระลึกความจำเป็นการวิ่งกลับไปเปิดลิ้นชักเพื่อค้นหาแฟ้มและเปิดดูข้อมูล หากจัดระบบดี การเรียกข้อมูลก็จะรวดเร็วและถูกต้อง ในการทดสอบตนเอง หากระลึกได้ช้า หรือไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากการเก็บจำไม่ดี ข้อความรู้อาจจัดไม่เป็นระบบ หรือจำในปริมาณทีมากเกินไป ซึ่งสามารถกลับไปทบทวนความจำนั้นใหม่ หรือจัดระบบการจำเนื้อหาใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน
การอ่านหนังสือหลายวิชาในเวลาติดๆ กัน หรืออ่านในขณะทีสมองเพิ่งจดจำสิ่งอื่นๆ ในชีวิตประจำวันอาจมีผลในการรบกวนทั้งย้อนระงับและตามระงับ ซึ่งเป็นผลต่อการรบกวนความจำ ดังนั้น นักเรียนอาจพิจารณาเลือกเวลาเรียนที่ปลอดโปร่งจากการรบกวนในความคิด เช่น ช่วงเวลาก่อนนอนหลังจากที่อาบน้ำและพักผ่อนมาพอสมควร หรือช่วงเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุด โดยอาจอ่านวันละวิชาในตอนค่ำแล้วทบทวนอีกเล็กน้อยในตอนเช้า
อย่างไรก็ตาม นักเรียนไม่ควรลืมว่าการอ่านหนังสือให้เกิดการเรียนรู้และจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร จึงควรตระหนักว่า การอ่านอย่างต่อเนื่องตลอดภาคการศึกษาเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพราะจะเป็นการช่วยให้กระบวนการเก็บจำดำเนินไปอย่างมีระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละน้อย ทีละส่วนของเนื้อหา ส่งผลให้เก็บจำได้มาก และยาวนาน และสามารถเรียกความรู้ที่ได้เก็บจำไปแล้วออกมาใช้ หรือตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา บทความแนะแนวการศึกษา มสธ. เข้าถึงได้จาก
http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n3.html เมื่อวันที่ 6-04-2010
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ บิดาแห่งหลักประกันสุขภาพ
นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นนายแพทย์ที่มีผลงานดีเด่นในการบุกเบิกและผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จนรัฐไทยรับไปเป็นนโยบายใช้จริง โดยพรรคไทยรักไทยได้นำไปใช้เป็นนโยบายที่เรียกว่า "30 บาทรักษาทุกโรค" ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 นายแพทย์สงวนเป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คนแรกและดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดกัน จนกระทั่งเสียชีวิต กลุ่มแพทย์ชนบทและผู้เคยร่วมงานต่าง ยกย่องนายแพทย์ สงวนว่าเป็น "รัฐบุรุษแห่งวงการสาธารณสุขไทย"
นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 6 คนในครอบครัวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกเรียนแพทย์ เพราะปนๆ กันระหว่างค่านิยมกับความรู้สึกอยากจะทำอะไรที่มีความหมาย วิศวะกับแพทย์ วิศวะเกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แพทย์เกี่ยวข้องกับคน คิดไปคิดมาก็เลือกเรียนแพทย์ สัมผัสความรักและความอบอุ่นจากแม่ ด้วยคำสอนที่ให้ข้อคิดว่า ถ้าเราลำบากให้มองคนที่ลำบากกว่าเรา ถ้าเราดีแล้วให้มองคนที่ดีกว่าเรา นายแพทย์สงวน จึงมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน คิดถึงความเป็นมนุษย์ ความมีน้ำใจในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สนใจปัญหาสังคม ชอบอ่านหนังสือ ในช่วงที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัย ชอบอ่านหนังสือสังคมปริทัศน์ เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน น.ส.พ. มหาราช ทำให้เห็นสภาพสังคมชนบทที่ต่างจากสังคมเมืองอย่างสิ้นเชิง เมื่อได้ออกค่ายก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ได้เห็นอะไรหลาย อย่างที่คิดไม่ถึง เช่น ครอบครัวที่ยากจน ทั้งบ้านมีเงินไม่ถึง 20 บาท และอีกหลายๆ กิจกรรมของชีวิตนักศึกษาที่น่าจดจำ
นายแพทย์สงวน ร่วมทำกิจกรรมนักศึกษา ตั้งแต่ปี 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือ มหิดลสาร ของมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเรียนจบ ได้ทำงานในกรุงเทพฯ 1 ปี ที่โรงพยาบาลวชิระ หลังจากนั้น เลือกออกไปเป็นแพทย์ชนบท จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล ทำงานอยู่ที่นั่น 5 ปี ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน สิ่งบันเทิงทั้งหลาย เครื่องกินเครื่องใช้ ที่อุดมสมบูรณ์ ต่างกับความขาดแคลน ความอดอยากแห้งแล้ง แต่สิ่งที่ชาวบ้านมี และมอบให้อย่างอบอุ่น คือ ความมีน้ำใจ ชีวิตช่วงนั้นมีความสุขมากที่สุด มีทีมงานที่ดี คือช่วงหลัง 6 ตุลาคม 2519 สภาพสังคมตอนนั้น มีความตื่นตัวในสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมสูง นักศึกษาที่จบมาใหม่ๆ มีทั้งพยาบาล เภสัช ทันตแพทย์ และเทคนิคการแพทย์ อยากไปทำงานชนบท แม้จะไม่มี สิ่งอำนวยความสะดวก นายแพทย์สงวนเชื่อเรื่องจิตใจ และคิดว่าแรงจูงใจเรื่องเงิน หรือตำแหน่งชื่อเสียง ไม่แรงเท่าจิตใจภายในที่อยากทำงาน เสียสละ มีอุดมการณ์ และมีความสุขที่ได้ทุ่มเท ถ้าแพทย์มีบทบาท ออกไปสู่ชนบท มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ชาวบ้าน ได้รับบริการดีขึ้น ซึ่งแต่ก่อน บริการทางการแพทย์เหล่านี้ จะกระจุกตัวอยู่แต่ในเมือง ก็เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้ บริการต่างๆ เข้าถึงประชาชน กว้างขวางขึ้น
นายแพทย์สงวนเคยบวชครั้งหนึ่ง กับท่านธรรมปิฎก ประทับใจในคำสอนที่ว่า อุเบกขา เป็นธรรมะ ข้อที่ยากที่สุด การวางอุเบกขา ไม่ได้แปลว่า ให้วางเฉยและหยุด ไม่ยุ่ง แต่อุเบกขา แปลว่า ให้ทำในสิ่งที่อยากจะทำ อย่างต่อเนื่อง แต่วางใจกับมัน คือสำเร็จไม่สำเร็จก็ช่าง ฉันก็จะทำไม่เลิกล้ม แต่ไม่คาดหวังว่า จะต้องสำเร็จอย่างเดียว ถ้าเราคาดหวัง และพยายามผลักดัน โดยคิดว่า ต้องสำเร็จ ก็คงเครียดตาย แต่ถ้าเราสามารถ ที่จะอยู่ในอุเบกขา ระดับหนึ่ง และยังสู้ต่อไป โดยใจเรานิ่ง ก็คงจะสามารถต่อสู้ ในระยะยาว โดยไม่หมดแรง ไปกับความเครียด เสียก่อน
นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวถึงนายแพทย์สงวน ว่า “ประสบการณ์ในชนบททำให้สงวนรู้ว่า ระบบบริการยังไม่ดีพอ และประชาชนขาดหลักประกันสุขภาพ ....อุดมการณ์ มุมมองเชิงระบบ และทักษะในการจัดการ เป็นสิ่งที่แพทย์โดยทั่วไปไม่มี แต่สงวนได้บ่มเพาะคุณสมบัติเหล่านี้ขึ้นในตัวเอง พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าตามวิถีประชาธรรมงานใหญ่ของสงวนคือ การเปลี่ยนแปลงระบบบริการสาธารณสุขไทยให้ประชาชนทั้งหมดมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเขาได้ใช้หลัก "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" ในการทำงานใหญ่และยาก กล่าวคือ
(1) ทำวิจัยสร้างความรู้ โดยวิจัยเรื่องการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ (Health Care Reform)
(2) ขับเคลื่อนสังคม
(3) เชื่อมโยงการเมือง จนกระทั่งผลักดันพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเกิด สปสช. หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมาเป็นกลไกในการจัดการ ทำให้คนไทยมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สงวนไม่ได้สนใจแต่จำนวนเท่านั้น แต่ยังสนใจคุณภาพของระบบบริการอีกด้วย ดังที่เคลื่อนไหวผลักดันเรื่อง "มิตรภาพบำบัด" และร่วมเคลื่อนไหวเรื่อง "ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์" สงวนเป็นคนมีน้ำใจ และรับช่วยเหลือในกิจการต่างๆ อยู่เสมอ เช่น เป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้ยกร่างธรรมนูญจัดตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เป็นผู้ยกร่างธรรมนูญจัดตั้งมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เป็นต้น”
ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และมีอาการทรุดหนักด้วยอาการน้ำท่วมปอดและไตไม่ทำงานหนึ่งสัปดาห์ก่อนเสียชีวิต ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ของวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอายุ 56 ปี
เรื่องราวของ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ในชื่อ หมอหงวน...แสงดาวแห่งศรัทธา ออกอากาศวันแรกในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ทางทีวีไทย โดยมี จิรายุส วรรธนะสิน รับบทเป็น นพ.สงวน ร่วมด้วย ร่มฉัตร ขำศิริ และ ทราย เจริญปุระ[3]
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2514-2520 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
พ.ศ.2526 -2527 Master of Public Health สถาบัน Tropical Medicine, Antwerp ประเทศเบลเยี่ยม
พ.ศ. 2528 ประกาศนียบัตร เรื่อง เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สถาบัน London School of Hygiene and Tropical Medicine ประเทศสหราชอาณาจักร
พ.ศ. 2532 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
พ.ศ. 2543 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" สถาบันพระปกเกล้า
รางวัลและเกียรติยศดีเด่น
-แพทย์ดีเด่นในชนบท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2528
-Fellow of Royal College of Physician (F.R.C.P) ราชวิทยาลัยแพทย์แห่งกรุง Edinburgh ประเทศสหราชอาณาจักร พ.ศ.2535
-องค์ปาฐกในปาฐกถามูลนิธิโกมลคีมทอง ประจำปี 2530
-รางวัล "ทุนสมเด็จพระวันรัต" สำหรับแพทย์ผู้ทำประโยชน์ให้สังคม จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ประจำปี 2544
ที่มา
1. ประเวศ วะสี มติชนรายวัน วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11007
เข้าถึงได้จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q2/2008april29p4.htm
2. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ วิกิพีเดีย เข้าถึงได้จาก
http://th.wikipedia.org/wiki
3. สีสันชีวิต นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ แพทย์ชนบทดีเด่น เข้าถึงได้จาก
http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k154/016.html
ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจผู้ก่อตั้งบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ตัน ภาสกรนที เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2502 ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาทำงานที่บริษัท ราชธานี เมโทร ซึ่งขายฟิล์มสีซากุระ ซึ่งทำงานเป็นพนักงานแบกของ เริ่มต้นค่าแรงในการทำงาน 700 บาท และหันมาทำอาชีพพ่อค้าแผงหนังสือที่ชลบุรี และได้เริ่มต้นซื้อห้องแถวขยายกิจการจนเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ตัน เริ่มต้นธุรกิจ “โออิชิ” ภัตตาคารบุปเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น และมีธุรกิจอื่นๆ เช่น สตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน จนกระทั่ง มาทำธุรกิจเครื่องดื่ม คือ ชาเขียวโออิชิ และ อะมิโน โอเค
ปี 2548 และ ปี2549 ตันได้รับการโหวตให้เป็น Role Model อันดับ 2 รองจากเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่เป็นอันดับ 1 และชื่อของเขาถูกเสนอขึ้นเป็น Role Model ในลำดับต้นๆ มาโดยตลอดจุดเด่นคือ อันดับที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากที่เคยได้รับการโหวตให้อยู่ในอันดับที่ 14 ในปี 2547 มาเป็นอันดับ 2 ในปี 2548 และปี2549 แสดงว่าสังคมไทยมองว่าตันเป็นต้นแบบที่สมควรเอาเยี่ยงอย่าง
บทบาทที่โดดเด่นของตัน นอกจากภาพการต่อสู้ชีวิตที่กลายเป็นแบบอย่างให้คนหลายๆ คน กลยุทธ์การตลาดที่เขานำมาปั้นแบรนด์โออิชิ ก็ถือเป็น talk of the tawn ก่อนหน้านี้เขาเลือกแจกเงิน 30 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นยอดขายชาเขียวโออิชิให้เติบโตแบบก้าวกระโดดกว่า 170% และดันให้โออิชิก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของชาเขียว ต่อมาเขาเลือกวิธีการขายแบบใหม่แทนการขายชาเขียวเป็นขวดๆ ซึ่งสร้างผลกำไรให้เขามากมาย แต่ในที่สุดตัน ภาสกรนที เลือกขายบริษัทโออิชิ กรุ๊ป ที่สร้างมากับมือให้กับกลุ่มบริษัททีซีซีของเจริญ สิริวัฒนภักดี ในราคา 3,352 ล้านบาท โดยได้รับเงื่อนไขที่ดีสำหรับตัวเขาเองว่ายังต้องทำงานบริหารบริษัทต่อไปเช่นเดิม เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นมืออาชีพไม่ใช่เจ้าของบริษัท การขายหุ้นโออิชิ กรุ๊ป ครั้งนี้มีการประเมินกันว่าธุรกิจชาเขียวกำลังเข้าสู่ช่วงขาลงที่ผ่านมาตลาดโตด้วยโปรโมชั่น จากนี้ไปคือการขายกันที่ตัวสินค้าและกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจน เมื่อการเจรจาซื้อหุ้นมาถูกที่ ถูกเวลา จึงเป็นเรื่องที่ตัดสินใจง่ายและสรุปลงตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนกลุ่มทีซีซีก็จะได้ธุรกิจเครื่องดื่มสุขภาพ ร้านอาหาร แบบพร้อมใช้ ไม่ต้องบ่มเพาะ ซึ่งเป็นธุรกิจที่กลุ่มนี้ยังไม่มีอยู่ในมือ ถ้าการทำธุรกิจเป้าหมายอยู่ที่การทำกำไรสูงสุดในระยะเวลาอันรวดเร็ว สูตรสำเร็จของชาเขียวโออิชิ กับตัน ภาสกรนที ก็บรรลุวัตถุประสงค์ไปเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาในภายหลังบริษัทโออิชิไม่ได้เป็นของตันอีกต่อไปแล้ว แต่คนก็ยังมองว่าเขาเป็นตัวอย่างของคนที่ต่อสู้ชีวิต ในทางกลับกัน การที่ตันตัดสินใจขายหุ้นบริษัทโออิชิออกไป คนยิ่งกลับมาให้ความสนใจมากว่า เพราะเขาสามารถขายได้ถูกจังหวะ ถูกเวลา ขายได้ราคาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการขายให้กับมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของเมืองไทย อย่างเจริญ สิริวัฒนภักดี สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้คนยิ่งยอมรับตัน ภาสกรนที มากขึ้น ทุกวันนี้ ชื่อของตันปรากฏตามสื่อต่างๆ น้อยมาก หากเปรียบเทียบกับเมื่อ 4 ปีก่อน ช่วงที่บริษัทโออิชิเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ๆ ดังนั้น การที่ชื่อของตันยังถูกเสนอขึ้นมาสู่อันดับ 3 Role Model ประจำปี 2551 จึงไม่ใช่เป็นเพราะกระแสหรือเป็นเพราะคนเห็นชื่อหรือหน้าตาของเขาปรากฏอยู่ตามสื่อบ่อยๆ แต่เป็นเพราะคนยังมีความเชื่อมั่น ให้การยอมรับในตัวของตันอย่างต่อเนื่อง สังคมยังคงมองว่าตัน ก็คือโออิชิ หรือโออิชิ ก็คือ ตัน ทั้งๆ ที่บทบาทในโออิชิของตันในวันนี้ เป็นเพียงลูกจ้าง คนยังมองตันเป็นผู้ประกอบการที่ปลุกปั้นธุรกิจจากมูลค่าไม่กี่ล้านบาทขึ้นมาเป็นหลักพันล้านบาทได้ในชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี คนหลายคนยังคงอยากเป็นอย่างเขา
ที่มา
http://www.gotomanage
http://th.wikipedia.org/wikir.com/news/details.aspx?id=76268
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=51511
วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง
การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions)มีระบบและวิธีการคัดเลือกโดยสรุป ดังนี้
1. วัตถุประสงค์และองค์ประกอบ
1.1 วัตถุประสงค์
การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
1.เพื่อให้มหาวิทยาลัย/สถาบันได้ผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถ และความถนัดตรงตามสาขาวิชาที่เรียน
2.เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้เป็นไปตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.2 องค์ประกอบของการรับบุคคลเข้าศึกษาฯ
การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง จะพิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า (GPAX) ให้ค่าน้ำหนัก 20%
2.ผลการสอบแบบทดสอบทางศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(Ordinary National Educational Test: O–NET) 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ค่าน้ำหนัก 30%
3.ผลการสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test ให้ค่าน้ำหนัก 10 – 50%
4.ผลการสอบแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT : Professional Aptitude Test) ให้ค่าน้ำหนัก 0 – 40%
5.ผลการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย มหาวิทยาลัย/สถาบันจะทำการสอบสัมภาษณ์และตรวจ ร่างกาย เพื่อหาข้อมูลประกอบการพิจารณาความพร้อม และความเหมาะสมเป็นขั้นสุดท้ายก่อนการรับเข้าศึกษา โดยไม่คิดเป็นค่าน้ำหนักคะแนน
2. วิธีการและขั้นตอนการรับบุคคลเข้าศึกษาฯ
ขั้นตอนการรับบุคคลเข้าศึกษาฯ มี 2 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การทดสอบ
ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจะต้องทำการสอบแบบทดสอบต่างๆ ที่มหาวิทยาลัย/ สถาบันกำหนดไว้ให้ครบถ้วน ดังนี้
2.1.1 การสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) จัดสอบโดยสถาบันทดสอบ ทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
2.1.2 การสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและ วิชาการ (PAT) จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดสอบช่วงเดือนมีนาคม เดือน กรกฎาคม และเดือนตุลาคม
2.2 การสมัครเข้าศึกษาฯ
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยกำหนดให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใน
ระบบกลาง สามารถเลือกสมัครได้ครั้งละไม่เกิน 4 อันดับการเลือก (คณะ/สาขาวิชา) ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในคณะ/สาขาวิชาที่ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาที่ได้กำหนดไว้ก่อนการสมัคร ดังนั้น หากพบว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ จะถูกตัดสิทธิ์ในการ เข้าศึกษา
สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จะนำคะแนนสอบรายวิชาที่ได้มารวมคะแนน หลังจากนั้นจะ นำมารวมกับคะแนนที่คำนวณจากผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) เพื่อใช้พิจารณาตัดสินผลตาม อันดับการเลือกที่สมัครต่อไป
3. ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.ผู้สมัครศึกษาคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกของคณะ/สาขาวิชา ที่ต้องการจะสมัครเข้าศึกษา
2.สมัครและสอบ GAT และ PAT
3.สอบ O – NET
4.สมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
5.ประกาศผลการคัดเลือก
ที่มา ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา 2553
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษาผ่านระบบกลาง (ADMISSION) ในปีการศึกษา 2553
การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (ADMISSION) ในปีการศึกษา 2553 มีสถาบันอุดมศึกษาที่รับนักศึกษา ดังนี้
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่รับนักศึกษา
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. มหาวิทยาลัยนครพนม
11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร
13. มหาวิทยาลัยบูรพา
14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
15. มหาวิทยาลัยมหิดล
16. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
17. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
18. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
19. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
20. มหาวิทยาลัยศิลปากร
21. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
22. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
24. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
26. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
27. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
28. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
29. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
30. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
31. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
33. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
34. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
35. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
36. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
37. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
38. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
39. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
40. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
41. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
43. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
44. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
45. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
46. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
47. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
48. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
49. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
50. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ร่วมรับในสังกัดหน่วยงานอื่น
51. วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
52. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
53. สถาบันการพลศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
54. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
55. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
56. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
57. มหาวิทยาลัยคริสเตียน
58. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
59. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
60. มหาวิทยาลัยธนบุรี
61. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
62. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
63. มหาวิทยาลัยปทุมธานี
64. มหาวิทยาลัยพายัพ
65. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
66. มหาวิทยาลัยภาคกลาง
67. มหาวิทยาลัยรังสิต
68. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
69. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
70. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
71. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
72. มหาวิทยาลัยสยาม
73. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
74. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
75. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
76. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
77. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
78. มหาวิทยาลัยเอเชียน
79. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
80. สถาบันเทคโนโลยีไทย -ญี่ปุ่น
81. วิทยาลัยเชียงราย
82. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
83. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
84. วิทยาลัยดุสิตธานี
85. วิทยาลัยตาปี
86. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
87. วิทยาลัยนครราชสีมา
88. วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
89. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
90. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
91. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
92. วิทยาลัยราชพฤกษ์
93. วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
94. วิทยาลัยสันตพล
ที่มา ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา 2553
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่รับนักศึกษา
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. มหาวิทยาลัยทักษิณ
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
9. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. มหาวิทยาลัยนครพนม
11. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร
13. มหาวิทยาลัยบูรพา
14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
15. มหาวิทยาลัยมหิดล
16. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
17. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
18. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
19. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
20. มหาวิทยาลัยศิลปากร
21. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
22. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
24. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
25. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
26. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
27. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
28. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
29. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
30. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
31. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
33. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
34. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
35. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
36. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
37. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
38. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
39. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
40. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
41. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
43. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
44. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
45. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
46. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
47. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
48. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
49. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
50. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ร่วมรับในสังกัดหน่วยงานอื่น
51. วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
52. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
53. สถาบันการพลศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
54. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
55. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
56. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
57. มหาวิทยาลัยคริสเตียน
58. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
59. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
60. มหาวิทยาลัยธนบุรี
61. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
62. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
63. มหาวิทยาลัยปทุมธานี
64. มหาวิทยาลัยพายัพ
65. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
66. มหาวิทยาลัยภาคกลาง
67. มหาวิทยาลัยรังสิต
68. มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
69. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
70. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
71. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
72. มหาวิทยาลัยสยาม
73. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
74. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
75. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
76. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
77. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
78. มหาวิทยาลัยเอเชียน
79. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
80. สถาบันเทคโนโลยีไทย -ญี่ปุ่น
81. วิทยาลัยเชียงราย
82. วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
83. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
84. วิทยาลัยดุสิตธานี
85. วิทยาลัยตาปี
86. วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
87. วิทยาลัยนครราชสีมา
88. วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
89. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
90. วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
91. วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
92. วิทยาลัยราชพฤกษ์
93. วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
94. วิทยาลัยสันตพล
ที่มา ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาประจำปีการศึกษา 2553
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียน(5)
5.ทักษะด้านการจัดการ
ทักษะด้านการจัดการเป็นทักษะสำคัญอีกทักษะหนึ่งที่จะช่วยฝึกฝนให้นักเรียนมีความพร้อมในการศึกษา ใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ โดยการดูแลและควบคุมของตนเองโดยไม่ต้องมีใครบังคับ ทักษะในการจัดการในที่นี้ ประกอบด้วย
5.1 การจัดการตนเอง ได้แก่ การตรวจสอบเป้าหมายการเรียน และแผนการเรียนของตนเอง ลักษณะหรือวิธีการเรียนที่ตนเองชอบหรือถนัด การดูแลตนเองให้สามารถเรียนได้ตามเป้าหมายที่ตนเองกำหนดไว้ การฝึกทักษะการเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเตรียมตัวสำหรับการเรียนในแต่ละครั้ง เป็นต้น
5.2 การจัดการเวลา ได้แก่ การวางแผนการใช้เวลาในการเรียนต่อครั้ง ต่อวัน หรือภาคเรียนให้เหมาะสมกับลักษณะวิธีการเรียนของตนเอง ซึ่งควรเป็นแผนที่ยืดหยุ่น ไม่เคร่งครัด หรือหละหลวมจนไม่สามารถก่อให้เกิดสัมฤทธิผลในการเรียนได้
5.3 การจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การทำความเข้าใจกับบุคคลในครอบครัว การสร้างทัศนคติทางบวกเกี่ยวกับการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น เช่น หากเราไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมได้ เราก็ต้องสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนเหล่านี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนมีอยู่แล้วในตนเองมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม หากนักเรียนสำรวจตนเองและพบว่ามีทักษะด้านใด ที่ยังบกพร่องและควรได้รับการพัฒนา นักเรียนก็ควรที่จะเริ่มต้นเสียตั้งแต่บัดนี้ เพราะไม่มีคำว่า"สาย"สำหรับการเริ่มต้นพัฒนาตนเอง
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n10.html
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียน (4)
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนอันดับที่ 4 เป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนรู้สำหรับทุกคนในโลกยุคข่าวสารข้อมูล คือ
4.ทักษะในการแสวงหาความรู้
เมื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของบุคคล ทักษะในการแสวงหาความรู้ จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับนักเรียนอย่างมาก เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทมากขึ้น ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ วิทยาการต่าง ๆ จึงมีการถ่ายทอดและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นักเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องมีทักษะที่จะรู้จักเลือกรับข้อมูล และวิทยาการใหม่ ๆ อย่างมีวิจารณญาณ นอกจากนี้กระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ หรือวิทยาการใหม่ ๆ นั้น มักจะส่งผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ ๆ ซึ่งมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นความจำเป็นอีกประการหนึ่ง โดยที่นักเรียนควรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้น เพราะเป็น "เครื่องมือ" ที่จะนำไปสู่ความรู้ที่ต้องการ ดังนั้นนักเรียนควรฝึกฝนการสืบค้นข้อมูลในเชิงสร้างสรรค์จากเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ (ยังมีต่อ)
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n10.html
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียน (3)
3.ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
ภาษาเป็นตัวกลางที่ช่วยให้มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และก่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการของวิทยาการต่าง ๆ มากมาย ในโลกไร้พรมแดน หรือ ยุคสังคมข่าวสารนี้ ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษามากกว่า 1 ภาษาย่อมแสวงหาความรู้ได้มากขึ้น สามารถที่จะแสวงหาความรู้ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต และ พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนี้ อาศัยความเข้าใจหลักของภาษา ไวยากรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการฝึกฝน ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ทักษะการอ่านมีความสำคัญมากต่อการแสวงหาความรู้ และ การพัฒนาความสามารถในการคิด ทักษะการเขียนมีความสำคัญมากต่อการถ่ายทอดผลของการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การวัดและประเมินผลการศึกษา เป็นต้น การฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางด้านภาษาไม่ใช่เรื่องยากนัก หากนักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญและมีความมุมานะในการฝึกฝนอย่างจริงจัง
(ยังมีต่อ)
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n10.html
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียน (2)
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอีกประเด็นหนึ่งสำหรับนักเรียน คือ
2.ทักษะด้านอารมณ์ ความรู้สึก
แต่เดิมนั้นทักษะด้านอารมณ์ และความรู้สึก เป็นทักษะที่ถูกละเลยในด้านการศึกษา แต่หลังจากที่มีการศึกษาค้นคว้ามากมาย นักจิตวิทยาและนักการศึกษาก็ให้ความสนใจในทักษะนี้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่นักเรียนที่มีความเข้าใจในบทเรียนเป็นอย่างดี แต่เมื่อเข้าห้องสอบกลับเกิดความรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวล บางรายมีอาการแสดงออกทางกาย ได้แก่ เหงื่อออกตามมือ หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ เป็นต้น และไม่สามารถทำข้อสอบได้ดี นั้น เป็นผลมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ แต่สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือการขาดทักษะในการจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกของ ตนเอง การฝึกฝนและพัฒนาทักษะทางด้านนี้จำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลา และการยอมรับตนเอง ในการพัฒนาทักษะด้วย และการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ ความรู้สึกที่เหมาะสมนั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและความสำเร็จในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n10.html
ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียน (1)
การแสวงหาความรู้ การคัดเลือก หรือค้นคว้าหาข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษา นักเรียนจึงควรพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียน สรุปได้ 5 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะพื้นฐานทางด้านการคิดและการใช้เหตุผล
ความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน มนุษย์เราส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝนให้พัฒนาทักษะการคิด และ การใช้เหตุผลมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลบ้าง แต่หากเราได้ใช้การสังเกตตนเอง จะพบว่าเรามีการสัมผัสต่อสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแวดล้อมตัวเราอยู่ตลอดเวลา หากเราสามารถที่จะตั้งคำถามอย่างถูกต้องต่อสิ่งใหม่ ๆ ที่เราสัมผัสได้ เราก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการคิดและการใช้เหตุผลได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างคำถามพื้นฐานที่ช่วยให้กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ คำถามเพื่อการรวบรวมข้อมูล -ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร คำถามเพื่อแสวงหาสาเหตุ - ทำไม เพื่อสามารถ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้)เมื่อเริ่มตั้งคำถามนั้น หากเราไม่สามารถที่จะจดจำได้ทั้งหมด เราควรจดบันทึก บันทึกเหล่านั้นจะช่วยให้เราสามารถสะสมข้อมูลที่จำเป็น สำหรับการแยกแยะประเด็น หรือรวบรวมประเด็น ในการคิดและการใช้เหตุผลในขั้นต่อไป นอกจากนี้ คนที่มีความสามารถในการศึกษาไม่ใช่คนที่เก่งในการจดจำ แต่เป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิด และรู้จักการใช้เหตุผลอย่างเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ (ยังมีต่อ)
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n10.html
สทศ.เปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2553
ข่าวแจ้งนักเรียนชั้นม.6 ปี 2553 เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบ GAT/PAT ขณะนี้ สทศ.เปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2553
รับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 - 25 พฤษภาคม 2553
กำหนดวันสอบ วันที่ 3 - 4 และ 10 - 11 กรกฎาคม 2553
กำหนดการจัดการทดสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2553
การรับสมัคร : แบ่งผู้สมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ผู้สมัครที่ประสงค์จะสอบที่สนามสอบกรุงเทพฯ/สมุทรปราการ/นนทบุรี/ปทุมธานี
1) ลงทะเบียน (ผู้สมัครรายใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน) วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
2) สมัครสอบและเลือกจังหวัด/เขต หรือ อำเภอที่ต้องการไปสอบ วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
3) ชำระเงิน วันที่ 1 – 28 พฤษภาคม 2553
4) เลือกสนามสอบ วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2553
กลุ่มที่ 2 ผู้สมัครที่ประสงค์จะสอบที่สนามสอบจังหวัดอื่น
1) ลงทะเบียน (ผู้สมัครรายใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน) วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
2) สมัครสอบและเลือกจังหวัด/อำเภอที่จะสอบ วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
3) ชำระเงิน วันที่ 1 – 28 พฤษภาคม 2553
ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลผู้สมัคร วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2553
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ พร้อมเลขที่นั่งสอบและสถานที่สอบ วันที่ 14 มิถุนายน 2553
พิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ วันที่ 21 มิถุนายน 2553
กำหนดวันสอบ วันที่ 3 - 4 และ วันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2553
ประกาศผลสอบ วันที่ 14 สิงหาคม 2553
ตารางสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2553
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 85 GAT ความถนัดทั่วไป
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 71 PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 72 PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 75 PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 73 PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 74 PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 76 PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 77 PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
สอบวิชา 78 PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
สอบวิชา 79 PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
สอบวิชา 80 PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
สอบวิชา 81 PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
สอบวิชา 82 PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
ประกาศผลสอบ วันที่ 14 สิงหาคม 2553
ที่มาhttp://www.niets.or.th/
รับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 - 25 พฤษภาคม 2553
กำหนดวันสอบ วันที่ 3 - 4 และ 10 - 11 กรกฎาคม 2553
กำหนดการจัดการทดสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2/2553
การรับสมัคร : แบ่งผู้สมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ผู้สมัครที่ประสงค์จะสอบที่สนามสอบกรุงเทพฯ/สมุทรปราการ/นนทบุรี/ปทุมธานี
1) ลงทะเบียน (ผู้สมัครรายใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน) วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
2) สมัครสอบและเลือกจังหวัด/เขต หรือ อำเภอที่ต้องการไปสอบ วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
3) ชำระเงิน วันที่ 1 – 28 พฤษภาคม 2553
4) เลือกสนามสอบ วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2553
กลุ่มที่ 2 ผู้สมัครที่ประสงค์จะสอบที่สนามสอบจังหวัดอื่น
1) ลงทะเบียน (ผู้สมัครรายใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน) วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
2) สมัครสอบและเลือกจังหวัด/อำเภอที่จะสอบ วันที่ 1 – 25 พฤษภาคม 2553
3) ชำระเงิน วันที่ 1 – 28 พฤษภาคม 2553
ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลผู้สมัคร วันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2553
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ พร้อมเลขที่นั่งสอบและสถานที่สอบ วันที่ 14 มิถุนายน 2553
พิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ วันที่ 21 มิถุนายน 2553
กำหนดวันสอบ วันที่ 3 - 4 และ วันที่ 10 - 11 กรกฎาคม 2553
ประกาศผลสอบ วันที่ 14 สิงหาคม 2553
ตารางสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2553
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 85 GAT ความถนัดทั่วไป
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 71 PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 72 PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 75 PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 73 PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 74 PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2553
เวลา 08.30 – 11.30 น. สอบวิชา 76 PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชา 77 PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
สอบวิชา 78 PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
สอบวิชา 79 PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
สอบวิชา 80 PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
สอบวิชา 81 PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
สอบวิชา 82 PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
ประกาศผลสอบ วันที่ 14 สิงหาคม 2553
ที่มาhttp://www.niets.or.th/
การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (ต่อ)
การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจริงอยู่ที่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าจะเรียนจะอ่านกันอย่างจริงจังให้ได้สาระความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ก็ควรจะจัดให้มีมุมเรียนเฉพาะ มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี
•มุมเรียน
นักเรียนควรเลือกสถานที่เฉพาะสำหรับการเรียนของเรา ที่ควรจะมีความเงียบ สงบ ไม่มีสิ่งรบกวนจากเครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
•อุปกรณ์การเรียน
ควรจัดหาโต๊ะ - เก้าอี้ที่จะนั่งเรียน นั่งอ่านของเราให้มีขนาดความสูงพอเหมาะ เก้าอี้มีพนักพิงที่ตรงเบาะนั่งไม่แข็ง และไม่นุ่มสบายจนเกินไป มีเครื่องเขียน ดินสอ ปากกา กระดาษ สมุดฯ ตำราเรียน เอกสารการเรียนที่จะวางไว้สะดวกในการใช้
•แสงสว่าง
การอ่านต้องอาศัยแสงสว่างที่เพียงพอ จัดให้แสงไฟส่องมาจากด้านข้าง และเอียงไปทางด้านหลัง ควรใช้ไฟจากหลอดเรืองแสง (fluorescent) ที่มีสีขาวนวล
•อุณหภูมิ
จัดให้มีที่ระบายอากาศ ช่วยปรับอุณหภูมิ ณ มุมเรียนของเราให้ไม่ร้อนจนเกินไป ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมช่วยให้มีการตื่นตัวต่อการเรียนรู้ที่ดี อยู่ที่อุณหภูมิ ประมาณ 22 - 25 องศาเซลเซียส
การจัดเตรียมเวลาเพื่อการเรียนรู้
นักเรียนจะต้องจัดการเวลาของตนที่มีอยู่ส่วนหนึ่งมาใช้ในการอ่านเพื่อเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญกับเวลาเรียนที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนต้องทำก่อน
เวลาที่เหมาะสม
ในแต่ละวันจะต้องมีเวลาที่จะอ่านหนังสือทบทวน ทำการบ้าน จดบันทึก โดยถือเป็นกิจวัตร เวลาที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วงเวลา 20.00 - 23.00 น. ในตอนกลางคืน และตอนเช้า 04.30-06.30 น. จัดทำเป็นตารางเรียน กำหนดว่าจะอ่านทบทวนวิชาอะไรบ้าง ประมาณ 1 - 2 ชั่งโมงในแต่ละวัน
ความพร้อมที่นักเรียนได้จัดเตรียมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สภาพแวดล้อม และเวลาที่เหมาะสม เพื่อการเรียน จะช่วยนำนักเรียนเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n9.html
การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ในโลกปัจจุบัน เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ ทุกคนต้องแสวงหาความรู้โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long-Learning) และการเรียนรู้ที่สำคัญมาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อการศึกษาในรูปแบบของสื่อประสม เช่น หนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทปเสียง เทปภาพวีดิทัศน์ ฯลฯ
นักเรียนจะเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เป็นผู้สามารถรับผิดชอบดำเนินการทางการเรียนได้ในทุกกรณี โดยผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามหลักสูตร ภายในระยะเวลาที่กำหนด
การจัดเตรียมตนเองเพื่อการเรียนรู้ การจัดเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อการเรียนรู้ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่นักเรียนสามารถ ดำเนินการได้เองไม่ต้องขึ้นกับสิ่งใด เพียงแต่คอยกำกับควบคุมจิตใจและร่างกายของเราให้พร้อมที่จะเรียน ดังนี้
•มีจิตสำนึกในตนว่าเราเป็นนักเรียนด้วยการหมั่นนึกระลึกถึงเสมอ ๆ ว่าขณะนี้เราเป็นนักเรียนต้องแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบในการเรียน รักการเรียน เห็นคุณค่าของการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
•มีใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการเรียน
นักเรียนต้องรู้จุดหมายที่แน่นอนว่าต้องการเรียนเพื่ออะไร อะไรคือสิ่งที่เราต้องการ มีความตั้งใจและมุ่งมั่น
•มีวินัยในตนเองการมีวินัยในตนเองที่จะเรียนรู้เป็นสิ่งที่นักเรียนจะต้องพยายามฝึกฝนตน ให้สามารถบังคับควบคุมพฤติกรรมส่วนตัว รวมทั้งอารมณ์ของตนเองให้กระทำ เพื่อเกิดการเรียนรู้จนบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น อ่านหนังสือเรียนตามตารางเรียนที่กำหนดไว้ทุกวัน ทำแบบฝึกหัด บันทึกย่อ และทบทวนสม่ำเสมอ ไม่ผลัดวันประกันพรุ่ง หลีกเลี่ยงหาสาเหตุอื่นมาอ้างที่จะไม่อ่าน ไม่เรียน
•มีการรักษาสุขภาพตนเองนักเรียนต้องสนใจห่วงใยระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การดูแลตนเองด้วยการปฏิบัติตนตามสุขนิสัยที่ดี ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
•มีท่าของการอ่านที่ถูกสุขลักษณะ
การอ่านที่ใช้กายภาพอย่างเหมาะสม ควรจะเป็นการนั่งให้หลังตรง จะทำให้เลือด ไปเลี้ยงสมองได้ดี ช่วยให้การเรียนรู้และการจดจำดี มีความตื่นตัว จัดวางเอกสารการสอนที่อ่าน ให้อยู่ห่างจากนัยน์ตาของเรา ประมาณ 1 - 1.5 ฟุต
อ้างอิงจาก บทความแนะแนวการศึกษา มหาวิทยาลัยสุทัยธรรมาธิราช
ที่มา http://www.stou.ac.th/Offices/Oes/OesPage/Guide/article/n9.html
จุฬารับตรง นับสิบคณะ ปี 2554
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี โดยวิธีรับตรง(แบบพิเศษ)
ติดตามดูข้อมูลได้ที่ http://www.admissions.chula.ac.th/chulasp54.html
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี โดยวิธีรับตรง(แบบปกติ) ติดตามดูข้อมูลได้ที่ http://www.admissions.chula.ac.th/normal54.pdf
ปฏิทินการรับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี
โดยวิธีรับตรง ประจำปีการศึกษา 2554
17 พฤษภาคม- 4 มิถุนายน 2553 รับสมัครสอบวิชาเฉพาะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสอบ
18 มิถุนายน 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวิชาเฉพาะ
24-26 กรกฎาคม 2553 จัดสอบวิชาเฉพาะ (วิชาทฤษฎี)
2-6 ตุลาคม 2553 จัดสอบวิชาเฉพาะ (วิชาทักษะ)
26 สิงหาคม 2553 ประกาศคะแนนสอบวิชาเฉพาะ (วิชาทฤษฎี)
1-7 กันยายน 2553 รับสมัครเข้ารับการคัดเลือกโดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ)
1-7 กันยายน 2553 รับสมัครสอบโครงการภาษาและวรรณคดีไทย
27 กันยายน 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
27 กันยายน 2553 ประกาศรายชื่อผู้ต้องทดสอบความสามารถเฉพาะทาง
22 ตุลาคม 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
26 ตุลาคม 2553 สอบสัมภาษณ์
29 ตุลาคม 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
4 พฤศจิกายน 2553 รายงานตัวเข้าศึกษา
15-29 พฤศจิกายน 2553 รับสมัครเข้ารับการคัดเลือกโดยวิธีรับตรง (แบบปกติ)
20 ธันวาคม 2553 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
3 มกราคม 2554 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
10 มกราคม 2554 สอบสัมภาษณ์
19 มกราคม 2554 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
24 มกราคม 2554 รายงานตัวเข้าศึกษา
ที่มา http://www.atc.chula.ac.th/th_html/admissions.html บุ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)